ประกันภัยที่อยู่อาศัย


ดาวน์โหลดโบรชัวร์
บริการช่วยเหลือฉุกเฉินในบ้าน
ลงทะเบียนให้ติดต่อกลับ >>> คลิก
การประกันอัคคีภัย เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก็สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย

ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันภัยได้มีอะไรบ้าง

  • สิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน) หมายถึง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถว สำหรับอยู่อาศัย ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม รวมทั้งส่วนปรับปรุงต่อเติมเพื่อการอยู่อาศัย โรงรถและอาคารย่อย
  • ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตึงตรา และทรัพย์สินอื่นๆภายในสถานที่เอาประกันภัยที่ไม่ได้ระบุในข้อยกเว้น

ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมีอะไรบ้าง

  • ไฟไหม้ แต่ไม่รวมถึงความเสียหาย
    • จากแรงระเบิด อันเป็นผลมาจากไฟไหม้ เว้นแต่แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย
    • โดยตรงหรือโดยอ้อมจากแผ่นดินไหว
    • ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากการบูดเน่าหรือการระอุตามธรรมชาติ หรือ การลุกไหม้ขึ้นเองเฉพาะที่เกิดจากตัวทรัพย์สินนั้นเองเท่านั้น หรือการที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในระหว่างกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง
  • ฟ้าผ่า
  • แรงระเบิดของแก๊ส ที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊สจากแผ่นดินไหว
  • ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มพิเศษ ที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย

ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มพิเศษที่ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ มีอะไรบ้าง

หากผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถซื้อภัยเพิ่มเติมได้ดังนี้
  • ภัยลมพายุ
  • ภัยจากลูกเห็บ
  • ภัยระเบิด
  • ภัยอากาศยาน
  • ภัยจากยวดยานพาหนะ
  • ภัยจากควัน
  • ภัยแผ่นดินไหว
  • ภัยน้ำท่วม
  • ภัยเนื่องจากน้ำ
  • ภัยจลาจลนัดหยุดงาน
  • ภัยจากการกระทำอย่างป่าเถื่อน หรือการกระทำอันมีเจตนาร้าย
  • ภัยต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า

ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ไม่คุ้มครอง

ทรัพย์สินต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัย
  • สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์
  • เงินแท่ง หรือเงินรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง หรือทองรูปพรรณ หรืออัญมนี
  • โบราณวัตถุหรือวัตถุสำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท
  • ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลายแบบ หรือแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์
  • หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใดๆ
  • วัตถุระเบิด
  • ไดนาโม หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจาก หรือเพราะการเดินเครื่องเกินกำลัง หรือได้รับกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า เฉพาะเครื่องที่เกิดการเสียหายในกรณีดังกล่าว

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีกี่วิธี

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
  • กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ (Replacement Cost Valuation) และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ ณ เวลา และสถานที่ที่เกิดความเสียหาย หรือ
  • กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน (Actual Cash Value) และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ซึ่งเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ หักด้วยค่าเสื่อมราคา ณ เวลา และสถานที่ที่เกิดความเสียหาย

การประกันภัยทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง คืออะไร

การประกันภัยทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง คือ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย และปรากฎว่าทรัพย์สินนั้นมูลค่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ ให้ถือว่าผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประกันภัยตนเองในส่วนที่แตกต่างกันกับมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย และในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนผู้เอาประกันภัยต้องรับภาระส่วนเฉลี่ยความเสียหายไปตามส่วน โดยสูตรที่ใช้ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนซึ่งบริษัทจะต้องรับผิดชอบในกรณีนี้คือ

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เอาประกันภัยต้องทำอะไรบ้าง

เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า และต้องส่งมอบหลักฐานและเอกสารตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ให้บริษัทภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเกิดความเสียหาย
  • ส่งคำเรียกร้องเป็นหนังสือเกี่ยวกับความเสียหาย ซึ่งต้องแจ้งรายละเอียดทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหายและมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินนั้น ๆ ในเวลาที่เกิดความเสียหายโดยละเอียดเท่าที่จะทำได้
  • ต้องแสดง หรือจัดหา หรือแจ้ง หรือมอบให้บริษัทซึ่งพยานหลักฐานและรายการเพิ่มเติม เช่น แผนผัง รายละเอียด ต้นฉบับ คู่ฉบับ หรือสำเนาแห่งเอกสารนั้น ๆ ข้อพิสูจน์และข้อความเกี่ยวกับการเรียกร้องและต้นเพลิงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิด อัคคีภัยและพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายตามที่บริษัทต้องการตามสมควรแก่กรณี



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น